ภาษีบุคคลธรรมดา

ภาษีบุคคลธรรมดา

การค้าขายแบบบุคคลธรรมดา คือการเปิดร้านขายของหรือให้บริการทั่วไป เช่น ร้านขายของชำหน้าหมู่บ้าน ร้านขายข้าวแกงขายก๋วยเตี๋ยว ร้านขายยา ร้านตัดผม รับซักรีด เป็นต้น รวมถึงงานฟรีแลนซ์รับจ้างออกแบบ งานเขียนโปรแกรม งานรับเหมาซ่อมแซมต่าง ๆ และการค้าขายแบบบุคคลธรรมดาในธุรกิจ SME ยุคดิจิทัล และ 5G สมัยนี้คือนั้นรวมการค้าขายออนไลน์เข้าไว้ด้วย เมื่อร้านค้ามีกำไรจากการค้าขายหรือเมื่อบุคคลมีเงินเหลือเก็บจากการรับจ้างทำงานก็ย่อมต้องมีภาระหน้าที่ในการเสียภาษีให้กับรัฐเพื่อให้รัฐนำเงินภาษีที่ได้เหล่านี้มามาสร้างถนนหนทาง จัดการสาธารณูปโภคหรือไว้พัฒนางานด้านต่างๆ เพื่อใช้ดูแลประเทศชาติของพวกเรา ซึ่งเราเรียกมันว่าภาษีบุคคลธรรมดาครับ

มนุษย์เงินเดือนจะชินกับการเสียภาษีที่เรียกว่า ภงด.91 นั่นคือมีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว สรรพากรถือว่าเงินเดือนนั้นเป็นรายได้ ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายได้โดยเรียกว่าค่าลดหย่อน แล้วกำหนดหรือจะเรียกว่าบังคับก็ไม่ผิดนะ ให้นายจ้างหรือบริษัทที่จ่ายเงินเดือนคํานวณภาษีจากเงินเดือนที่หักลดหย่อนแล้วนำส่งให้สรรพากรทุกเดือน วิธีอย่างนี้แหละคือ ภงด.91 คือรายได้ของเรามีแต่ค่าจ้างเงินเดือน แต่ถ้ามนุษย์เงินเดือนมาค้าขายออนไลน์ด้วย เท่ากับมีรายได้อีกทางเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากเราจดทะเบียนค้าขายแบบบุคคลธรรมดา รายได้เพิ่มนั้นก็เลยเอามาคิด บวกเพิ่ม กับเงินเดือน แล้วให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกหนึ่งรายการเรียกว่าหักค่าใช้จ่ายเหมา สรรพากรเรียกการเสียภาษีแบบนี้ว่า ภงด.90 ฉะนั้นแล้ว ภงด.91 กับ ภงด.90 จึงเป็นพี่น้องกันด้วยประการฉะนี้

ทั้งนี้ถ้าไม่ได้ทำงานมีเงินดาวเงินเดือน แต่มีรายได้จากค้าขายอย่างเดียว สรรพากรก็ให้ใช้แบบภงด.90 นะครับ

ความแตกต่างของภงด 90 กับภงด 91 อีกอย่างหนึ่งก็คือภงด. 90 ไม่ต้องคำนวณภาษีนำส่งทุกเดือนแต่เราต้องคำนวณภาษีเพื่อยื่นนำส่งปีละ 2 ครั้งทุก ๆ 6 เดือน รอบแรกคิดจากเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ต้องคำนวณ 6 เดือนแรกเพื่อยื่นนำส่งภายในเดือนกันยายน ซึ่งแบบนำส่งครึ่งปีแรกนี้เรียกว่า ภงด. 94 ส่วน ที่เหลือคือกรกฎาคมถึงธันวาคมนั้น ให้เอาไปรวมยื่นแบบคำนวณทั้งปีอีกครั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัด การยื่นส่วนนี้แหละที่เรียกว่าภงด. 90

บางท่านอาจจะงง สรุปใหม่ง่ายๆ ว่า
1. ถ้ามีเงินเดือนอย่างเดียว นายจ้างหักภาษีนำส่งให้เราทุกเดือน แล้วเรามีหน้าที่ยื่นแบบภงด. 91 ปีละครั้ง รอบคำนวณคือ ม.ค. – ธ.ค. ยื่นภายใน มี.ค. ปีถัดไป
2. ถ้ามีเงินเดือนและมีรายได้จากการค้าขายด้วย นายจ้างหักภาษีส่วนเงินเดือนนำส่งทุกเดือนเหมือนข้อแรก แต่รายได้จากการค้าขายของเราเองนั้น เรามีหน้าที่ยื่นแบบเองปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกยื่นด้วยแบบ ภงด. 94 รอบคำนวณหกเดือนแรกคือ ม.ค.-มิ.ย. ยื่นภายในเดือนสิ้นเดือน ก.ย. ครั้งที่สองยื่นด้วยแบบ ภงด. 90 รอบคำนวณทั้งปีคือ ม.ค.-ธ.ค. เพื่อนยื่นภายในสิ้นเดือน มี.ค.ของปีถัดไป เมื่อยื่น ภงด.90 แล้วก็ไม่ต้องยื่น ภงด.91 อีก
3. ถ้ามีเฉพาะรายได้จากการค้าขาย ก็ยื่นแบบเองปีละ 2 ครั้ง คือ ภงด.94 และ ภงด. 90 ตามที่ว่าไว้ในข้อ 2 ครับ

การค้าขายแบบบุคคลธรรมดา ในทางบัญชีแล้วคือการเสียภาษีต่อกรมสรรพากรด้วยการยื่นแบบ ภงด. 90 และ ภงด. 94 ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่สุดของการคำนวณภาษี เพราะสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีกำไรจากการค้าขายมากหรือน้อยเท่าไร ในเมื่อร้านค้าแบบบุคคลธรรมดาไม่มีบัญชีและบิลแสดงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในธุรกิจ เพราะฉะนั้นสรรพากรก็คิดแบบพื้นฐานสุดๆ เลยว่า ราคาขายคือต้นทุนสินค้าบวกด้วยกำไร ถ้าเราแจ้งรายได้ที่เราค้าขายไว้เท่าไรนั้นก็เท่ากับราคาขาย ถ้าอย่างนั้นต้นทุนสินค้าของร้านเราหรือที่สรรพากรเรียกว่าค่าใช้จ่ายนั้นก็ควรจะมีต้นทุนที่ 60% หักลบกลบกันแล้ว ส่วนที่เหลือก็ถือว่าเป็นกำไร หรือพูดแบบชาวบ้านๆ ก็คือสรรพากรคิดว่าร้านค้าของเรามีกำไร 40% นั่นเอง

การที่สรรพากรคิดว่าร้านค้าน่าจะมีกำไร 40% นั้น ร้านค้าบางร้านอาจจะร้องเสียงดังเลยว่าฉันได้กำไรไม่ถึง40% ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากร้านของเราเป็นร้านขายของโชห่วยที่ขายน้ำอัดลมขวดลิตรต้นทุน 18 บาท ขายราคา 24 บาท ก็ได้กำไรขวดละ 6 บาท เอามาคำนวณเปอร์เซ็นต์กำไรแล้วก็ได้แค่ 30% เท่านั้นเอง นี่ยังไม่ค่าไฟที่ต้องแช่ให้เย็นๆ ถึงจะขายได้ไวๆ แถมร้านสะดวกซื้อข้างๆ ยังมีจัดโปรโมชั่นราคาถูกมาตัดราคาเอาเสียอีก หรือถ้าขายขนมโหล 45 บาท ได้กำไร 5 บาท คำนวณแล้วก็ได้แค่ 12% เท่านั้น ก็หมายความว่าถ้าร้านโชห่วยของเรามีกำไรรวมๆ ไม่ถึง 40% การประเมินเหมาแบบนี้ก็ดูจะเสียภาษีสูงมากโขอยู่

วิธีคำนวณภาษีร้านค้าบุคคลธรรมดานั้น ก็คือการนำรายได้ที่เราได้รับจากทุกทางทั้งหมด หักด้วยส่วนที่ให้ลดหย่อนทุกแบบทั้งหมดเสียก่อน เหลือเท่าไหรจึงนำมาหักด้วยค่าใช้จ่ายแบบเหมาเป็นรายการสุดท้าย ยอดเงินที่ที่เหลือนี้สรรพากรเรียกว่ารายได้พึงประเมินหรือรายได้สุทธิ (ก็คือกำไรของกิจการนั่นเอง) สรรพากรนำรายได้สุทธินี้มาใช้ในการคำนวณภาษี โดยจะคำนวณภาษีด้วยแบบอัตราก้าวหน้าหรือคิดตามขั้นบันไดแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งเริ่มอัตราคำนวณไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ยอดภาษีที่ 5%-35% (จะอธิบายขั้นตอนวิธีการคำนวณอัตราก้าวหน้าในโอกาสต่อไปนะครับ) การเปิดร้านแบบบุคคลธรรมดาจึงเป็นไปได้ในบางกรณีที่เรา -อาจจะ- เสียภาษีสูงกว่าการเปิดร้านแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ที่มีอัตราภาษีในปัจจุบันที่ 20% เท่านั้น

นี่คือ ความแตกต่างในการทำธุรกิจเปิดร้านแบบบุคคลธรรมดา กับการเปิดร้านในลักษณะนิติบุคคลทั้งแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด การทำธุรกิจเจ้าของคนเดียวแบบบุคคลธรรมดาร้านเล็กๆ ดีตรงไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการทำบัญชี เรื่องที่ต้องขอบิลขอใบกำกับภาษีจากผู้ขาย สำหรับใช้ยื่นนำส่งสรรพากรเพื่อแสดงรายได้และนำส่งค่าใช้จ่ายจริงทุกๆ เดือน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างการทำบัญชีในแต่ละเดือนรวมถึงประหยัดค่าตรวจสอบบัญชีสิ้นปีไปได้ ยิ่งถ้าร้านเล็กๆ ของเรามีกำไรมากกว่า 40% ก็เท่ากับจ่ายภาษีให้รัฐน้อย แต่ถ้าร้านเล็กๆ ของเรามีกำไรน้อยกว่า 40% ก็เท่ากับต้องจ่ายภาษีให้รัฐมากกว่าร้านอื่น ความได้เปรียบเสียเปรียบในการคำนวณภาษีร้านค้าแบบบุคคลธรรมดานี้เราคิดกันในทางเจ้าของธุรกิจ แต่ในทางสรรพากรหรือประเทศชาติแล้วก็คงต้องหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เพื่อคำนวณภาษีจากกำไรแบบเฉลี่ยๆ กันไปอย่างนี้ ซึ่งทางแก้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้ประกอบการแต่ละรายนั้นก็มีมาตรการออกมาให้รับทราบกันแล้ว นั่นคือระบบภาษีชุดเดียว ที่สรรพากรกำลังเร่งดำเนินการเพื่อรองรับกับระบบการเงินยุคดิจิทัลที่กำลังปรับเปลี่ยนกันขนานใหญ่ เราคงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านภาษีกันภายใน 3-5 ปีนับต่อจากนี้ไป ซึ่งรวมถึงภาษีร้านค้าแบบบุคคลธรรมดาของพวกเราเอาไว้ด้วย เรื่องของภาษีในส่วนนี้ก็ค่อยไปว่ากันต่อในหมวดของบัญชีสำหรับ SME กันอีกทีนะครับ

#ฝ่ายบุกคน
facebook: http://fb.me/hr24hrs

admin

Spread the love

Related Posts

BUS-466 (Sec 1: เช้า) จองวันเวลานำเสนอ

คำแนะนำการจองวันเวลานำเสนอ1. เลือกได้เฉพาะวันอังคารของแต่ละเดือน โดยคลิ๊กวันที่ในปฏิทิน ตามวันที่ต้องการ หากวันอังคารใดขี้นรูปนาฬิกาแสดงว่ามีผู้จองบางเวลาแล้ว แต่หากขึ้นสีแดงแสดงว่าจองเต็มครบทุกเวลาแล้ว2. ใส่ข้อมูล รหัส, ชื่อ, นามสกุล3. เลือกลำดับเวลาที่ต้องการ (หากเป็นสีเทาอ่อน หมายถึงมีผู้จองแล้ว) Sec 1-เช้า
ค่าจ้างต้องเริ่มยังไง

ค่าจ้างต้องเริ่มยังไง

"มีวิธีการหลีกเลี่ยงหรือหลบหลีกมั้ย" นี่เป็นคำถามลำดับแรกๆ เมื่อคุยเรื่องค่าจ้างและการจ้าง...กับเจ้าของธุรกิจที่มีความช่ำชองในเชิงธุรกิจ อีกทั้งไม่จำกัดว่าเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ แต่เป็นเหมือนซิกซ์เซนส์ของคนประกอบกิจการ ที่หากว่าเมื่อมีกฎเกณฑ์อะไรก็ตามก็อยากจะปฏิบัติให้น้อยที่สุด หรือไม่ต้องปฏิบัติอะไรได้บ้าง ดังนั้น ค่าจ้างต้องเริ่มยังไง จะว่ากันตามธรรมเนียมแล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องใหม่อะไรนัก ดังนั้นเราก็จะมาลองศึกษาวิธีการต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจบางคนได้ใช้แล้วก็นำมาพูดมาอวดให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ฟัง เราจะมาเปิดเผยดูว่าวิธีการต่างๆ เหล่านั้นเค้าทำกันอย่างไร
ค่าจ้างต้องรู้ SME

ค่าจ้างต้องรู้ ฉบับสร้างธุรกิจ SME ให้ดี ดัง ปังนาน

ค่าจ้างต้องรู้ ฉบับ สร้างธุรกิจ SME ให้ดีดังปัง นาน นี้เหมาะกับผู้ประกอบการยุคดิจิทัล แล้วทำไม ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจต้องรู้เรื่องค่าจ้าง ลองพิจารณาผู้คนในยุคปัจจุบันนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาแล้ว ก็มักจะมีเป้าหมายอยากทำธุรกิจของตนเอง ไม่ต้องการเป็นลูกจ้างใคร เราจึงเห็นคนวัยรุ่นหนุ่มสาวจนถึงรุ่นใหญ่วัยกลางคนหันมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ รวมถึงออฟไลน์เปิดร้านค้าขายเพิ่มขึ้นมากมาย จะร้านเล็กร้านใหญ่หรือเปิดท้ายขายของที่ตลาดสังกะสีก็สุดแท้แต่ทุนที่หากันมาได้นั่นเองทุกคนที่หันมาสร้างธุรกิจส่วนตัว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

19 + five =